วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อุปาทานขันธ์

ปุจฉา :  อะไรเอ่ย?
ขันธ์ทั้งห้านี้ เราเรียกว่า
เป็นของหนัก
แต่มีสิ่งๆหนึ่ง ทำให้ ขันธ์
ทั้งห้า ลอยขึ้นและจมลงได้
ครับ.
วิสัจฉนา: ท่าน@TNT 
สิ่งๆหนึ่งที่ทำให้ขันธ์ทั้งห้า ลอยขึ้นแบะจมลงได้ คือ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ นั่นเอง 
   ▪ยึดมากก็หนัก (ทุกข์มาก)
   ▪ยึดน้อยก็เบา (ทุกข์น้อย)
   ▪ไม่ยึดเลยก็นิพพาน (พ้นทุกข์)

ขันธ์ (5)
คือ รูปกับนาม
พระบรมศาสดาทรงสอนให้วิเคราะห์ แยกแยะ ว่ารูป กับนามเป็นอย่างไร อย่างไหนเป็นรูปอย่างไหนเป็นนาม การที่จะดู หรือพิจารณารูปพิจารณานาม เราต้องรู้รูป รู้นามเสียก่อน ถ้าไม่รู้รูป ไม่รู้นาม เราจะพิจารณาขันธ์ 5 ได้อย่างไร เราจะไปดูสิ่งที่ไม่เคยเห็นได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาและครูอาจารย์สอนให้ทำธุระทางศาสนา คือ ทำคันถธุระ กับวิปัสสนาธุระ คันถะ เป็นการเรียนรู้ตัวบท ส่วนวิปัสสนา เป็นการลงมือปฏิบัติ แต่ทั้งสองก็อาศัยกันและกัน 
ดังนั้นการจะพิจารณาขันธ์ อันเป็นการพิจารณารูปกับนามนั้น  เราก็ต้องรู้ทฤษฎีเสียก่อน เช่น รู้ว่าคนเรามี 5 ขันธ์ (สัตว์บางชนิดมีขันธ์เพียงขันธ์เดียว) ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 

สำหรับรูป คือสิ่งที่เราดู หรือเพ่ง หรือพิจารณาซึ้งในการทำวิปัสสนา ท่านเรียกว่าดูรูป 
ซึ่งการดูรูป ก็ดูด้วยอายตนะ 6 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 

ในส่วนของ เวทนา สัญญา และสังขาร สามอย่างนี้ท่านรวมเรียกว่าเจตสิก 
และ ขันธ์ในข้อสุดท้ายคือ วิญญาณนั้น ท่านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจิต 
จิตเป็นธรรมชาติที่รับรู้ภายหลังจากที่อายนะได้สัมผัสและผ่านเจตสิกมาแล้ว มาถึงจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึกคิด ตรงนี้เป็นขั้นตอนของความคิดรวบยอดแล้ว เป็นสังกัป (concept )เป็นมรรคข้อที่สอง สัมมาสังกัปโป (right perception)
การที่จะควบคุมกำกับไม่ให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ความยึดมั่นถือมั่น
ท่านจึงให้ตัดกิเลส โดยฝึกควบคุมการดูรูป ดูนาม ให้สักแต่ว่า ไม่ให้มันหวั่นไหว โดยตัดอนุสัยทุกๆครั้งไม่ให้มันติดไม่ให้มันเหลือ ตกค้างเป็นนิสัยไม่ดีเป็นความเคยชิน จนสะสมมีปริมาณมากขึ้น สะสมจนเต็มเป็นอาสวะพร้อมที่จะล้นออกมาข้างนอกเป็นตัวกิเลส เป็นโลภะ โทสะ โมหะ 
เมื่อใดที่เราท่านปฏิบัติเช่นนี้ได้ ก็จะยึดน้อย
ถ้าเก่งมากก็ดับไม่เหลือ
ถึงซึ่งนิพพาน

ผมมีความเข้าใจแบบนี้ครับ
ไม่ทราบจะผิดถูกประการใด
โปรดชี้แนะด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

แก่นวิปัสสนาคืออะไร?

กถามุข ที่เขียนโดย ส.อภิรักษ์ ในหนังสือ "แนะแนวทางวิปัสสนา" ที่ผมอ่านนี้ สรุปได้ว่า แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนามีดังนี้
 1.มหาสติปัฏฐานสูตร  เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค  พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสั่งสอนว่า การใช้ กาย เวทนา จิต ธรรม สำหรับเป็นฐานในการกำหนดสติ เป็นหนทางเพียงสายเดียวที่สามารถ ไปสู่นิพพาน เป็นทางพ้นทุกข์ เพราะเป็นการมุ่งกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ความยินดียินร้าย ทำให้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่มีอัตตา ตัวตนเราเขาอยู่ในใจอีกต่อไป เป็นการเห็นไตรลักษณ์ มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 
2.จากพุทธพจน์ยืนยันได้ว่า ถึงแม้ว่าจะเห็นไตรลักษณ์เพียงหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเพียงข้อเดียว ก็เข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ แต่ข้อสำคัญเราจะละทิ้งรูป นาม ไม่ได้เลย จะต้องเห็นความไม่เที่ยงของ กายเวทนา จิต ธรรม การเจริญสติปัฏฐานจะเห็นไม่เที่ยง
3.วิธีปฏิบัติอีกประการหนึ่ง คือ ในการพิจารณาให้...ยึดอารมณ์ปัจจุบัน ไม่เยื่อใยในรูปอดีต อย่าเพลิดเพลินในรูปอนาคต จงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อสละ เพื่อปล่อยรูปปัจจุบันเถิด แม้
ทวารอื่นๆ ก็แก้อย่างนี้หมด...
4.ต้องไม่ให้มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ วิเวก 3 อาวุธ 3
5.วิปัสสนา ต่างจากสมถะกรรมฐาน  สมถะเป็นวิธีสงบจิตให้อยู่กับอารมณ์เดียวเป็นการทำสมาธิล้วนๆ แต่วิปัสสนากรรมฐานเป็นการฝึกจิตให้เกิดปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริงของตัวเรา คือ รู้จัก นาม -รูป = ขันธ์ 5 ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นวิธี เห็นไตรลักษณ์ ละกิเลสให้หมด เป็นสมุจเฉทไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ดับเหตุคือกิเลส ดับชาติ คือขันธ์ 5 ไม่เกิดในที่ไหนๆอีกต่อไป
6.วิปัสสนากรรมฐานแบ่งเป็น 2 พวก คือสมถยานิก กับวิปัสสนายานิก พวกแรกเริ่มจากสมถกรรมฐานก่อน แล้วมาวิปัสสนากรรมฐานที่หลัง พวกหลังดูนาม รูป ดูขันธ์ 5 ล้วนๆเรียกว่าเลือกกรรมฐานที่เป็นปัจจัยแก่ปัญญา มีอิริยาบถ 4 อิริยาบทย่อย ธาตุ 4 เป็นต้น ก็ได้
แต่ข้อที่สำคัญคือ ต้องทำตามวิธีของท่านทุกๆข้อ
7.ข้อนี้สำคัญ เพราะเป็นข้อห่วงใยของท่าน ส.อภิรักษ์ โดยเฉพาะ ท่านบอกว่าในสติปัฏฐานมีวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกัน อานาปานสติก็ใส่ใจอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกับอิริยาบถ เพราะอารมณ์ต่างกัน ฉะนั้นสติปัฏฐานจึงขึ้นอยู่กับอุบายความเข้าใจของผู้ทำ ถ้าไม่เข้าใจก็จะไม่เป็นวิปัสสนาเลย จะกลายเป็นสมาธิและหลงทางได้ ท่านยังบอกอีกว่า มรรค 8 เป็นทางเดินของจิตใจ ซึ่งใจของสัตว์ทั้งหลายไม่มีรูปร่างหน้าตาจะให้จับต้องได้ (ผมเข้าใจว่าท่าน ส.หมายถึงจิตใจเป็น "นาม" ครับ) และกิเลสเครื่องเศร้าหมองก็ไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ ตลอดจน ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่รู้จักหน้าตาของ จิต กิเลส ปัญญา สติ ฯลฯ ธรรมะเหล่านี้ เราจะฝึกจิต อบรมจิต ได้อย่างไร!!!
เราเป็นคนโง่ หลงอวิชชาอยู่เต็มที่ จะไม่อาศัยแผนที่ที่พระพุทธองค์ตลอดทั้งสาวกได้วางเอาไว้ให้แล้ว เราจะถึงจุดหมายที่ไม่เคยไปได้อย่างไร?
ท่าน ส.อภิรักษ์ยังมีคำถามอีกหลายข้อครับ
และท่านบอกย้ำไว้ว่า



แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญาที่ทรงประสงค์คืออะไร

คราวหน้าเรามาพิจารณาไปด้วยกันครับ
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
ดร.ประสิทธิ์ คชโคตร
17 กรกฎาคม 2560

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ระบบการศึกษาไทยเป็นความล้มเหลวแห่ง Southeast Asia จริงหรือ?

แต่ผมเคยโพสต์เรื่องชาวจีนวิจารณ์การบริหารการศึกษาไทยว่าห่วยแตกสุดๆ (http://phulaenchangisan.blogspot.com/2017/01/foreign-view-on-thailand-educational.html)
เมื่อต้นปีนี้เอง มาเดือนนี้ มีสื่อแชร์โพสต์ของครูชาวอังกฤษที่เคยทำการสอนในโรงเรียนเอกชนทางปักษ์ใต้ของไทย ในปี 2551 
โดยพาดหัวบทความ ว่า ระบบการศึกษาไทย ความล้มเหลวอีกเรื่องแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (https://search.yahoo.com/search?ei=utf-8&fr=tightropetb&p=Cassandra+James+Thailand&type=61385_031317 ) ข้อวิจารณ์ของเขานั้น เท่าที่ผมเก็บความได้
มีดังนี้ 
1.ระบบการบริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการล้าสมัย ไร้ประสิทธิภาพ ภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่อง ออกกฏระเบียบหยุมหยิม ไม่สร้างสรรค์ แถมมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ลักษณะแบบนี้น่าจะเป็นมรดกทางสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงช้า 
2.การผลิตและพัฒนาครูด้อยประสิทธิภาพ 3.การบริหารโรงเรียนล้าหลัง โรงเรียนขาดเสรีภาพทางการเงิน ทำให้การสรรค์หาครูไม่ได้ผล โดยเฉพาะครูฝรั่ง คือได้แต่ครูต่างประเทศที่แก่หง่อม และขาดคุณสมบัติทางวิชาชีพครู มองว่าครูต่างชาติเป็นเพียงส่วนเกิน นอกจากนี้อุปกรณ์การสอน การทดลองต่างๆมีน้อย
 4.การจัดการห้องเรียนไม่ได้มาตรฐาน เพราะจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนมีมาก ครูดูแลไม่ทั่วถึง มักส่งผลให้ครูต้องปล่อยปละละเลยเด็ก ขาดการสอนให้เด็กคิด วิเคราะห์ แยกแยะ 5.การวัดผลการเรียนด้อยมาตรฐาน ครูถูกบังคับให้ปล่อยเกรด เพราะจ่ายครบต้องจบแน่ ต้องรักษาภาพ รักษาหน้าเอาไว้ก่อน

 

น่าแปลกนะครับ!!! 
ขณะที่เรากำลังปฏิรูปประเทศในหลายๆด้าน โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา เราใช้
ยาแรงมากๆหลายเรื่อง เช่น เรื่องกระจายอำนาจ เรื่องเอกภาพการบังคับบัญชา เรื่องการผลิตครูภาษาอังกฤษแบบเร่งรัด การรณรงค์อบรมการบูรณาการวิชาหลักอันได้แก่ Sciences,Technology, English, Maths (STEM) และ Project Based Learning (PBL) การปรับบทบาทการนิเทศโดยสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community- PLC) แต่สื่อและสังคมวิชาการก็ยังรณรงค์นำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องความล้มเหลวในอดีตอยู่เป็นประจำเสมอๆ หรือว่าที่เป็นเช่นนี้ เป็นเครื่องชี้วัดอย่างหนึ่งว่าการปฏิรูปเริ่มจะได้ผลแล้ว คือต้นไม้ของเราที่ปลูกลงไปเริ่มจะออกผลแล้ว!!! 

เพราะว่าปรากฏการณ์เช่นนี้ ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าสังคมต้องการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารการศึกษามากขึ้น อยากเสนอแนะมากขึ้น ต้องการแสดงความกังวลห่วงใยมากขึ้น 

อาการเช่นนี้แสดงแน่ชัดว่าเราจุดประกายได้แล้ว!!!

 ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยอำนวยพร ให้การคิดดี ทำดีจงได้ดี 
Do good get good!!!

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จะมีใครสักกี่คนที่เข้าใจคำว่า วิปัสสนา?




จะมีใครสักกี่คนที่รู้จักคำๆนี้ตรงตามหลักฐานและเหตุผล!!!
โดยมากมักเข้าใจคำว่า วิปัสสนา นี้
•เป็นธรรมชั้นสูง
•เป็นการทำใจให้สงบ หรือให้ได้สมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
•เข้าใจว่าเมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิด ปัญญาญาณ รู้เห็นที่วิเศษกว่าความรู้ ความเห็นของคนปกติธรรมดา เช่น สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นคนที่ตายไปได้ไปเกิดในภูมิชั้นนั้นชั้นนี้ เห็นเลข เบอร์ต่างๆ ทำให้เป็นที่ชมชอบของผู้คนเป็นอันมาก
•เพราะเหตุนี้เอง จึงเกิดสำนักประเภทนี้ขึ้นมากมายทั่วประเทศ และสำนักเหล่านี้ ก็ใช้คำว่า "วิปัสสนา" กันเสมอดาษดื่น

"ถ้าแม้แต่คำว่าวิปัสสนาก็ยังไม่เข้าใจที่ถูกต้อง จะป่วยกล่าวไปไยว่าจะปฏิบัติวิปัสสนาที่ถูกต้องได้อย่างไร"

ผมอ่านคำชี้แจงของมูลนิธิพุทธมรดกข้างบนนี้ ที่ตีพิมพ์ประกอบในหนังสือแนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา วิสุทธิ  7 เล่มที่พิมพ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 แล้ว


เกิดความรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในกลุ่ม "ผู้คนทั้งหลาย" ทียังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ วิปัสสนา 
        ดังนั้น ผมจึงประสงค์ จะติดตามสาระของหนังสือเล่มที่ผมถ่ายรูปมาประกอบนี้ให้จบครับ และหากว่าผมได้รับความรู้และเกิดความคิดเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์สาธารณะ มีคุณค่าต่อพุทธศาสนิกชนและท่านผู้อ่านทั้งหลาย ผมก็จะน้อมคารวะนำมาเล่าสู่กันฟังในพรรษากาลของปี 2560 นี้ ครับ !!!
สวัสดีครับ

การทำวิปัสสนาในวันอาสาฬหบูชา

การทำวิปัสสนาในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นกิจกรรมการปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา!!! 

หลังจากตรัสรู้แล้วพระองค์ทรงสั่งสอนรื่อง ธรรมจักกัปวัตนสูตร และในระหว่างที่พระองค์กำลังเทศนาอยู่พระอัญญาโกญทัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ รู้แจ้งในธรรมที่ทรงเทศนาได้บวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ทำให้พระรัตนตรัยครบองค์สาม ครับ

พระสูตรนี้ นับว่าเป็นปฐมเทศนา ที่ทรงโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 
สาระของธรรมจักกัปวัตนสูตร เป็นเรื่องอริยสัจ 4 คือ เป็นเรื่องทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค เป็นทางสายกลาง ไม่เคร่งเครียดสุดโต่งและไม่หละหลวม
มรรคมีองค์ 8 นี้ มีบทที่ว่าด้วย สติ และ สมาธิ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดสัมมาสติ คือระลึกชอบ คือ การมีสติที่ถูกต้อง หมายถึง สติปัฏฐาน 4
และสัมมาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นชอบ เป็นการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา 
วิธีปฏิบัติเพื่อสัมมาสติและสัมมาสมาธิ มีสองอย่างคือ สมถะกัมมัฏฐาน และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน
กล่าวโดยย่อการปฏิบัติวิปัสสนาในวันอาสาฬหบูชา ก็คือ การปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด ข้อที่ 7 และ 8 นั่นเอง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ถ้าท่านทำสมถะกัมมัฏฐานหรือทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็จัดว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และหากท่านสามารถปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ได้อย่างสม่ำเสมอ ท่านก็สามารถบำบัดทุกข์ได้ !!!

ท่านที่ประสงค์รายละเอียดของ ธรรมจักกัปวัตนสูตร โปรดติดตามลิงค์ ต่อไปนี้ครับ 

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ลักษณะของการศึกษาที่ดี ตอนที่ 2

ผมเคยเขียนถึงลักษณะของการศึกษาที่ดีไว้ครั้งหนึ่งแล้วครับดังปรากฏในลิงค์นี้ />http://phulaenchangisan.blogspot.com/2016/09/blog-post.html แต่ยังมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาอยู่อีก 
ตามที่คุณอนันต์ฯ กล่าวไว้ว่า 
ครอบครัวเป็นสถานฝึกนิสัยที่ดีนั้น ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ทั้งนี้เพราะลักษณะนิสัยที่ดีเป็นเรื่องที่ต้องมีการปลูกฝังครับ และการปลูกฝัง การอบรมบ่มนิสัยที่ดี ต้องเริ่มตั้งแต่เกิด และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกกับพ่อแม่โดยเฉพาะระหว่าลูกชายกับบิดาก็เป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะมีลักษณะนิสัยที่มั่นคง ไม่เป็นเด็กที่มีปัญหาในอนาคตครับ เรื่องนี้มีผลการวิจัยของ Travis Hirschi ในสหรัฐอเมริกาสนับสนุนครับ



วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

To register the underprivileged from 3 April to 15 May

Maj-Gen Sansern Kaewkamnerd

informs the public that Payuth Chan-o-cha's government is to begin tomorrow its second round of the underprivileged registration to enable the poor to receive public support from relevant  public agencies. The new round of this important registration is for both group of people who had already registered their status last time, and the group of new comers who have qualified for the registration.The process that aims at the extending the reach of the poor will allow the government to improve its data base on the poor and improve its attempt to bridge the gap between the privileged and the underprivileged in the country.

The most important qualifications for the target group are as follows:

1) โดยต้องมีสัญชาติไทย

 (Must have Thai nationality),

2) อายุ 18 ปีขึ้นไป
 
(Age over 18 years old),

3) เป็นผู้ว่างงานหรือ

(Being an unemployed),

4) มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทในปี 59 

(Has income not over 100,000 Baht in 2016),

5)ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน

 (Do not have any financial property),

6) หรือไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย 

(Do not own any permanent property under related laws),

7) หรือหากมีบ้านพักอาศัยต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตร.ว. ห้องชุดไม่เกิน 35 ตร.ม.

(In case of being an owner of a residence, it must not have the area over 25 squar wa, and not over 35 square meters, incase of a room in a condominium),

 8) หรือมีที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 10 ไร่ หรือที่ดินอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร ไม่เกิน 1 ไร่"

(Own an agricultural piece of land that is not over 10 rai, or have a piece of land that is not for agricultural purpose not over one rai).

The general, moreover, explains that when the registration process is completed the ministry of finance, later on in June 2017, will issue ID cards for those who pass the official scrutiny.The end result  of this policy, after its implementation, will be a better access by the poor, to fundamental social and economic services from relevant public agencies.

For more information please follow this link.