ปุจฉา : อะไรเอ่ย?
ขันธ์ทั้งห้านี้ เราเรียกว่า
เป็นของหนัก
แต่มีสิ่งๆหนึ่ง ทำให้ ขันธ์
ทั้งห้า ลอยขึ้นและจมลงได้
ครับ.
วิสัจฉนา: ท่าน@TNT
สิ่งๆหนึ่งที่ทำให้ขันธ์ทั้งห้า ลอยขึ้นแบะจมลงได้ คือ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ นั่นเอง
▪ยึดมากก็หนัก (ทุกข์มาก)
▪ยึดน้อยก็เบา (ทุกข์น้อย)
▪ไม่ยึดเลยก็นิพพาน (พ้นทุกข์)
ขันธ์ (5)
คือ รูปกับนาม
พระบรมศาสดาทรงสอนให้วิเคราะห์ แยกแยะ ว่ารูป กับนามเป็นอย่างไร อย่างไหนเป็นรูปอย่างไหนเป็นนาม การที่จะดู หรือพิจารณารูปพิจารณานาม เราต้องรู้รูป รู้นามเสียก่อน ถ้าไม่รู้รูป ไม่รู้นาม เราจะพิจารณาขันธ์ 5 ได้อย่างไร เราจะไปดูสิ่งที่ไม่เคยเห็นได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาและครูอาจารย์สอนให้ทำธุระทางศาสนา คือ ทำคันถธุระ กับวิปัสสนาธุระ คันถะ เป็นการเรียนรู้ตัวบท ส่วนวิปัสสนา เป็นการลงมือปฏิบัติ แต่ทั้งสองก็อาศัยกันและกัน
ดังนั้นการจะพิจารณาขันธ์ อันเป็นการพิจารณารูปกับนามนั้น เราก็ต้องรู้ทฤษฎีเสียก่อน เช่น รู้ว่าคนเรามี 5 ขันธ์ (สัตว์บางชนิดมีขันธ์เพียงขันธ์เดียว) ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
สำหรับรูป คือสิ่งที่เราดู หรือเพ่ง หรือพิจารณาซึ้งในการทำวิปัสสนา ท่านเรียกว่าดูรูป
ซึ่งการดูรูป ก็ดูด้วยอายตนะ 6 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ในส่วนของ เวทนา สัญญา และสังขาร สามอย่างนี้ท่านรวมเรียกว่าเจตสิก
และ ขันธ์ในข้อสุดท้ายคือ วิญญาณนั้น ท่านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจิต
จิตเป็นธรรมชาติที่รับรู้ภายหลังจากที่อายนะได้สัมผัสและผ่านเจตสิกมาแล้ว มาถึงจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึกคิด ตรงนี้เป็นขั้นตอนของความคิดรวบยอดแล้ว เป็นสังกัป (concept )เป็นมรรคข้อที่สอง สัมมาสังกัปโป (right perception)
การที่จะควบคุมกำกับไม่ให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ความยึดมั่นถือมั่น
ท่านจึงให้ตัดกิเลส โดยฝึกควบคุมการดูรูป ดูนาม ให้สักแต่ว่า ไม่ให้มันหวั่นไหว โดยตัดอนุสัยทุกๆครั้งไม่ให้มันติดไม่ให้มันเหลือ ตกค้างเป็นนิสัยไม่ดีเป็นความเคยชิน จนสะสมมีปริมาณมากขึ้น สะสมจนเต็มเป็นอาสวะพร้อมที่จะล้นออกมาข้างนอกเป็นตัวกิเลส เป็นโลภะ โทสะ โมหะ
เมื่อใดที่เราท่านปฏิบัติเช่นนี้ได้ ก็จะยึดน้อย
ถ้าเก่งมากก็ดับไม่เหลือ
ถึงซึ่งนิพพาน
ผมมีความเข้าใจแบบนี้ครับ
ไม่ทราบจะผิดถูกประการใด
โปรดชี้แนะด้วยครับ