10 เทรนด์ธุรกิจในปี ใหม่ พ.ศ.2560 หรือ 2017
10 เรื่องล้วนเกียวกับ Thailand 4.0
และ 2 เรื่องเน้นย้ำสุขภาพพลานามัย และคุณภาพสิ่งแวดล้อม
10เทรนด์ธุรกิจปีใหม่ ประกอบด้วย
1.เครื่องมือช่วยในการสร้างสินค้าเทคโนโลยี
2.เครื่องมือช่วยในการสร้างแบรนด์บุคคล
3.การฝึกอบรมนักงานผ่านออนไลน์
4.หันมาสนใจกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น
5.มีการขายกิจการทิ้งมากขึ้น
6.สินค้าต้องมีบอกข้อมูลสารอาหาร
7.อี-คอมเมิร์ซยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
8.มีการทำ CRM มากขึ้น
9.พัฒนาความสามารถของพนักงานมากขึ้น
10.สินค้ารักษ์โลก
สำหรับรายละเอียดของทั้ง 10 เทรนด์นี้
โปรดติดตามจากเว็ปไซต์ต่อไปนี้ครับ
http://www.thaismeresearch.com/10-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2017/
และโปรดเปรียบเทียบกับ 10 อาชีพที่ธุรกิจต้องการมากที่สุดยุคThailand 4.0 ต่อไปนี้ด้วยครับ
Education, Agriculture and Development in Sub-Mekong Region with an intention to bring more attention to the relationship between the peripheries and the core area aka rural and urban relation.
วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
การเมืองภาคปฏิบัติใน USA ตอนที่ 2
เพื่อนใน Facbook แชร์มาอีกแล้วครับ !
คราวนี้เป็นเรื่องที่นักเขียนเขาวิเคราะห์ความผิดพลาดของ Hillary Clinton ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค Democratic Party
คุณ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ
บอกว่า ที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ออกมาเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากความผิดพลาด 8 ประการ ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มคนในเขตเมืองใหญ่ขาดปฏิสัมพันธ์และความเข้าใจชีวิตของคนในชนบทอย่างสิ้นเชิง (Lack of Rural Urban Relation)
2. ผู้สนับสนุนนายทรัมป์เป็นเสียงเงียบที่ไม่อยากเผยตัว ไม่มีใครกล้ายอมรับและบอกผลกับโพลต่างๆ เพราะกลัวถูกมองว่าประหลาด (Silent Public Opinion)
3. สื่อออนไลน์ทำให้ผู้คนทั่วไปอยู่ในกะลา ได้รับข้อมูลจากฝ่ายที่ตนสนับสนุนอยู่แล้ว (The Real Impact Of Social Media)
4. “ความยโสโอหัง” ของฝ่ายอำนาจเก่าโดนลงโทษ (Political Punishment on The Arrogant )
5. ตัวเลือกที่ผิดตั้งแต่ต้น (Misplaced Candidacy)
6. ไม่มีความเอาใจใส่ฐานเสียงเดิม (Neglected Supporters)
7. มีคนที่รู้สึกว่าสิทธิและความคิดเห็นของตนถูกละเลยมากพอ (Dismayed Voters)
8. กลุ่มผู้หญิง แอฟริกันอเมริกัน และชาวอเมริกาใต้ ไม่ออกมาใช้เสียงมากพอเพื่อสนับสนุนนางฮิลลารี (The Effects of Political Aparthy)
จาก 8 ข้อผิดพลาดของฝ่าย Democrats นี้ เราพบว่าสภาพทางสังคมของชาวอเมริกันนั้นก็มีความคล้ายคลึงกับสภาพสังคมไทย เพราะประการแรกความแตกต่างระหว่างชนบทกับเมืองใหญ่ยังมีอยู่ไม่น้อย ลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งผลต่อการเมืองและการเลือกตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประการที่ 2 น่าประหลาดใจมากที่ลักษณะการปิดบังซ่อนความคิดความรู้สึกทางการเมืองของประชาชนยังปรากฏอยู่ในสหรัฐอเมริกา สภาพเช่นนี้แม้มิใช่เกิดขึ้นเพราะความหวาดกลัวภัยคุกคามเหมือนที่เกิดขึ้นในบางประเทศ แต่ในความจริงชาวอเมริกันก็มีความรู้สึกเช่นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก จนถึงกับส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งได้ไม่มากก็น้อย ดังที่เห็นกันอยู่ใช่ไหมครับ?
ประการที่ 3 สาเหตุข้อนี้มีความเป็นไปได้ไม่น้อยเช่นกัน การสนทนาเฉพาะในกลุ่มตนเองผ่านแอ๊ปไลน์อาจจะเป็นการปิดกั้นความคิดจากกลุ่มบุคคลภายนอก ซึ่งกลุ่มไลน์นี้แตกต่างจากสื่อ Facebook และสื่อกระแสหลักอื่นๆที่อย่างหลังนี้เปิดส่งและรับข่าวสารในวงกว้างกว่าอย่างแรก
ประการที่ 4 เรื่องความยะโสโอหังของกลุ่มอำนาจเก่าที่ถูกลงโทษนี้ ผมมีความเห็นว่าการที่กลุ่มอำนาจเก่าจำนวนมากผ่านชีวิตการเป็นครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาด้วยกันอาจจะเป็นไปได้ว่าสิ่งนี้ทำให้พวกเขารู้สึกหยิ่งทรนงว่าพวกตนมีการศึกษาสูง มีความรู้มากกว่าคนอื่นๆ ซึ่งลักษณะนี้แตกต่างจากคนในภาคธุรกิจที่เขามักจะจดจำได้ว่าตนนั้นไต่เต้ามาด้วยการลงมือทำธุรกิจ สร้างเนื้อสร้างตัวมาด้วยลำแข้ง หนักเอาเบาสู้ ผ่านอุปสรรคล้มลุกคลุกคลานมามากต่อมาก จึงต้องจดจำว่าการปรับตัว การพึ่งตนเองนั้น มีความสำคัญยิ่ง คนเหล่านี้จึงมักไม่นิยมการยกตนข่มท่าน หรือเมื่อหากมีความจำเป็นจะต้องข่มใคร ก็จะกระทำต่อเมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนเองจริงๆเท่านั้น เช่น อาจจะบอกออกไปตรงๆเลยว่า "ถ้าฉันได้อำนาจ แกติดคุกแน่" เช่นนี้เป็นต้น
ประการที่ 5 ความผิดพลาดข้อนี้ตรงไปตรงมาไม่มีอะไรมากครับ!
ประการที่ 6 สื่อมวลชนได้เปิดเผยให้เห็นแล้วว่าผู้เลือกตั้งที่ลำบากยากจนในเขตฐานเสียงเดิมของ มิสซิส คลินตัน กล่าวว่า "Trump ลูกเดียวครับ" เมื่อถูกถามว่าจะเลือกใคร !!!
ประการที่ 7 ความผิดพลาดข้อนี้คือความผิดพลาดในการบริหารเป็นเวลาสองเทอมติดต่อกันของพรรค Democratic Party ผลพวงของมันมาออกฤทธิ์มากเอาตอนปลายสมัยซึ่งประชาชนต้องเลือกระหว่างของเก่ากับการลองของใหม่!
ประการสุดท้าย ความผิดพลาดข้อนี้ฝ่ายคลินตันได้มีการพยายามแก้ไขอยู่บ้างในตอนท้าย แต่ก็แก้ไม่ตก จะเห็นได้จากมีผลโพลล์ในช่วงสุดท้ายใกล้วันลงคะแนนออกมาว่า Donald Trump มีเสียงนำ Hillary Clinton แล้วนะ การทำเช่นนี้ อาจเป็นการกระตุ้นพวกเสียงเงียบว่าถ้าไม่เลือกเราเขามาแน่ แต่เรื่องอย่างนี้จะมาแก้ไขภายในวันสองวันได้อย่างไรครับ
กล่าวโดยย่อ ผมจำเป็นต้องยกสองมือขึ้นกุมขมับกล่าวกับตัวเองว่า
"การเมืองภาคปฏิบัติในสหรัฐอเมริกานี่ มันเข้าใจยากกว่าทฤษฎีจริงๆ !!!"
ดังเรื่องราวของเจ้าคุณท่านหนึ่งในลิงค์ต่อไปนี้
ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ครับ
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
การเมืองภาคปฏิบัติใน USA
การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ผลประโยชน์อย่างแรกคือ การได้มาซึ่งอำนาจ หรือการแสวงหาอำนาจการมีอำนาจ ดังนั้น ท่านจึงกล่าวอีกด้วยเหมือนกันว่า การเมืองเป็นเรื่องของการแสวงหา การได้มา และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจ
ภาคปฏิบัติของ การแสวงหา การได้มา และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจ นั้น วันนี้เราได้เห็นประจักษ์แล้วจากการเมืองเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ที่เผยแพร่ผ่านสื่อ และสื่อทางสังคมที่แพร่สะพัดกระจัดกระจายอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ทะลุทะลวงมิติด้านกาละ เทศะ ตามอิทธิพลของโลกาภิวัตน์
การแสวงหาอำนาจในช่วงเวลาการหาเสียงเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจในประเทศนี้ นั้น คู่แข่งที่เข้าชิงตำแหน่งต่างฝ่ายต่างก็ทุ่มเทกำลังงัดอาวุธทุกชนิดสาดเข้าใส่กันอย่างไม่ยั้งฝีมือ
ที่เห็นชัดเจนประการแรกคือการเปิดเผยความชั่วร้ายของฝ่ายตรงกันข้ามอย่างถึงพริกถึงขิง จนถึงขนาดที่สื่อมวลชนต่างก็สรุปลงความเห็นว่าการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เป็นการกระทำที่โหดร้ายที่สุด ผู้คนถึงกับลงความเห็นว่าการรณรงค์หาเสียงครั้งนี้เป็นการต่อกรระหว่างโรคมะเร็งร้ายกับปีศาจ คือเป็นการต่อสู้กันของคู่แห่งความชั่วร้าย!!!
มันมิใช่แบบนั้นเพียงอย่างเดียวครับ!!!
เราเห็นTrump กล่าวกับ Hilray Clinton อย่างไม่นั่งปากเช่นกล่าวว่าเธอเป็นแม่มด เป็นปีศาจ มึงเถอะถ้าฉันได้ตำแหน่งละก็แกติดคุกแน่!!!
แต่ครั้นเวลาชนะแล้ว กลับตาลปัดเป็นปากหวานกล่าวยกย่องชมเชยคลินคั้นเอาดื้อๆแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
เอากับเขาสิ!!!-
ท่านลองฟังสิครับ
ขึ้นต้นก็หวานเจื้อยเลยครับ!!!
I've just received a call from Secretary Clinton. She congratulated us. It's about us. On our victory, and I congratulated her and her family on a very, very hard-fought campaign.
I mean, she fought very hard. Hillary has worked very long and very hard over a long period of time, and we owe her a major debt of gratitude for her service to our country.
I mean that very sincerely.
ฟังพูดเข้าสิ !!!
ก็พอเห็นอยู่ใช่ไหมครับท่าน!!!
ผมขอน้อมคารวะฝากเรื่องนี้ไว้กับทุกท่านที่ติดตามอ่านเรื่องนี้ ได้ช่วยคิดต่อก็แล้วกันนะครับว่า
การเมืองบ้านเราดุเดือดใกล้เคียงกันกับการเมืองเขาหรือไม่ครับ?
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559
ลักษณะของการศึกษาที่ดี
เพียงสิบเอ็ดนาที
แต่มีคุณค่ามหาศาลต่อการฝึกนิสัย!
ผมชอบคำบรรยาย 11 นาที ของคุณอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของแลนด์แอนด์เฮาส์ พูดดี 11 นาที ได้เนื้อหาและแรงบันดาลใจยิ่ง
ในขณะที่คนอื่น ๆ บอกว่าต้องเร่งยกระดับการศึกษาของชาติ แต่คุณอนันต์ ตั้งคำถามว่า คนที่ประสบความสำเร็จจะต้องเรียนเก่งจริงหรือไม่ ?
ประเทศไทยเน้นเรื่องการศึกษามาก จนลืมเรื่องความสำคัญของการฝึก "นิสัย" คนไทยควรจะมีนิสัยอย่างไร จึงจะเจริญก้าวหน้าในชีวิต?
คนที่มีนิสัยดีเหมือนเรามีเครื่องจักรที่ดีในตัวไม่ว่าไปทำอะไรก็จะดี
เจ้าของแลนด์แอนด์เฮาส์ เล่าว่า เกิดมาในครอบครัวยากจน ในบ้านมีคนมากถึง 31 คน ถือเป็นสถานที่สำคัญฝึกนิสัยให้กับเขา จนทำให้มีวันนี้
นิสัยที่ดี ฝึกไม่ยาก เริ่มจากที่บ้านใน 5 ห้อง :
1. ห้องนอน :
ฝึกทำใจให้ว่าง ทำสมาธิ ล้างใจสะอาด นอนได้เต็มที่ และฝึกตื่นให้เป็นเวลา เก็บที่นอน เปิดหน้าต่างให้เคยชิน
"ถ้าเราเป็นคนไม่ตื่นตามเวลา ใช้ปุ่ม Snooze เพื่อที่จะตื่นมากด Snooze อีกที เราจะกลายเป็นคนที่ทำงานเสร็จนาทีสุดท้ายเสมอ"
2. ห้องน้ำ :
ฝึกการใช้น้ำอย่างประหยัด เกรงใจคนอื่น รักษาเวลา การฝึกล้างห้องน้ำให้เป็น จะช่วยฝึกให้เราไม่ดูถูกคน เป็นคนไม่เลือกงาน ไม่มีทิฐิ
"สมัยเด็ก บ้านผมไม่ได้มีฐานะ
แต่มีคนถึง 31 คน น้ำก็ต้องใช้ประหยัด เข้าห้องน้ำนานไม่ได้ เพราะคนอื่นก็ต้องใช้เหมือนกัน" "ผมล้างห้องน้ำมาจนโต ทำให้ทุกงานผม ห้องน้ำต้องสะอาด เสียอย่างเวลาขึ้นเครื่อง บางทีผมต้องเสีย 15 นาทีเช็ดห้องน้ำจนสะอาด" "คนว่าผมสร้างห้างมาให้คนเข้าห้องน้ำ
ทั้ง Terminal 21 หรือ Fashion ก็ยอมรับครับตอนนี้มีคนมาเข้าห้องน้ำห้างผม วันละเป็นแสน"
3. ห้องแต่งตัว :
ฝึกให้รู้จักตัดใจ เสื้อผ้าไม่ใส่ต้องทิ้ง เสียสละให้คนอื่น ใช้สิ่งของต่าง ๆ อย่างพอดีตัว "ไม่ใช่จะใช้ชีวิตแย่ ๆ แต่เท้ามีแค่สองข้าง จะมีรองเท้ามากมายทำไม อะไรไม่ได้ใส่เกิน 2 เดือน เอาไปบริจาคเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่"
4. ห้องกินข้าว :
ฝึกการทานอาหาร นั่งพร้อมหน้ากัน รู้จักแบ่งปัน ตักข้าวแล้วต้องกินให้หมด ดังนั้น ต้องตักให้พอดีตัว และตักให้พ่อแม่หรือคนอื่นก่อน
"ไข่พะโล้ 2 ฟอง นั่งกัน 4 คน เราต้องแบ่งกันคนละครึ่งฟอง และตัดให้แม่ก่อน จนติดนิสัยให้คนอื่นก่อน เช่นเวลาเข้าออกลิฟต์"
5. ห้องทำงาน :
ฝึกจัดลำดับความสำคัญ อย่าให้มีอะไรรกบนโต๊ะทำงาน กระดาษที่กองเต็มโต๊ะ บอกนิสัยไม่ตัดสินใจ หรือไม่มั่นคงทางใจ กลัวไม่มีข้อมูล "เวลาผมเจอใครกระดาษกองเต็มโต๊ะ ผมคิดเลยว่าคนนี้ไม่กล้าตัดสินใจ หรือ Insecure กลัวขาดข้อมูล ทั้งที่มันมีในมือถือหมดแล้ว" "ห้องทำงานผมไม่มีกระดาษบนโต๊ะ ไม่มีโทรศัพท์เพราะใช้มือถือ ไม่มีคอมพ์เพราะใช้แท็บเล็ต ตอนนี้มีห้องไว้โชว์ว่าว่างเปล่า"
5 ห้องนี้จะฝึกให้เรา รักษาความสะอาด มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา สุภาพ และฝึกสมาธิให้ใจสะอาด
"คนเรียนเก่งไม่ใช่คนเก่งเสมอไป แต่คนเก่งมักมีนิสัยสร้างความเจริญก้าวหน้าเรื่องนี้อย่าสอนแต่ในห้องเรียน เริ่มจากที่บ้าน"
"ทุกวันนี้โลกวุ่นวายไม่ใช่เพราะคนไม่มีการศึกษา แต่เพราะคนนิสัยไม่ดี และมีการศึกษาเยอะต่างหาก"
เมื่อจบเรื่องการสร้างนิสัยที่ดีแล้ว คุณอนันต์ต่อด้วยเรื่องความสุขครับ !!!
ความสุขคืออะไร ?
มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้แนะนำ การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ ปี 2016 ไว้ ..
1. Be Grateful
..สำนึกบุญคุณคนที่ดีต่อเรา
2. Choose Your Friends Wisely
..เลือกเพื่อนอย่างชาญฉลาด
3. Cultivate Compassion
.. ให้ความเห็นอกเห็นใจ แก่คนอื่น
4. Keep Learning
..หมั่นเรียนรู้
5. Become a Problem Solver
.. เป็นผู้แก้ปัญหาได้
6. Do What You Love
..ทำในสิ่งที่คุณรัก
7. Live in the Present
..อยู่กับปัจจุบัน
8. Laugh often
..หัวเราะบ่อยๆ
9. Practice Forgiveness
..ฝึกการให้อภัย
10. Say Thanks often
..กล่าวขอบคุณเสมอ
11. Create Deeper Connections
..สร้างความสัมพันธ์ลึกล้ำ
12. Keep Your Agreement
..รักษาสัญญา คำพูด
13. Meditate
..ทำสมาธิ
14. Focus on What You're Doing
..ตั้งมั่นในสิ่งที่กำลังทำ
15. Be Optimistic
..มองโลกในแง่ดี
16. Love Unconditionally
..รักอย่างไม่มีเงื่อนไข
17. Don't Give up
..อย่ายอมแพ้
18. Do Your Best and then Let it Go
..ทำดีที่สุดแล้วอย่ายึดติด
19. Take Care of Yourself
..ดูแลตัวเอง
20. Give back to society
..ตอบแทนสังคม
การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ ปี 2016 ที่คุณอนันต์ฯ ตบท้ายไว้นี้ สำหรับผมนิสัยแห่งความสุข ข้อที่ 5, 11 และข้อ 16 ค่อนข้างทำยากนะ แต่ผมก็จะทำ
รับปากว่าต้องทำให้ได้ !!!
คราวหน้าเราจะมาพิจารณาเรื่อง 5 ห้องในครอบครัวเป็นสถานฝึกนิสัยที่ดี ต่ออีกนิดหนึ่งนะครับ!
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ภาระหน้าที่ ภารกิจของมหาวิทยาลัย Missions of a university
มหาวิทยาลัยทุกแห่งจะระบุภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยไว้ในกฏหมายจัดตั้งสถาบันของตน ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มีการระบุภาระหน้าที่ไว้ในมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาสินธุ์ พ.ศ. 2558 10 ประการ ดังนี้
"มาตรา ๗ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๖ ให้กําหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความใฝ่เรียนรู้ (To produce graduates who possess knowledge and technical ability as well as occupational skills and ability to think rationally having morality and ethics and learning desires)
(๒) จัดการศึกษาทางด้านวิชาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา (To provide occupational education both at the undergraduate and graduate levels)
(๓) สร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และนําความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา ท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาคใกล้เคียง โดยเน้นการวิจัย การประยุกต์และบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ากับเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง มีสันติสุขและยั่งยืน (To continuously build up and develop bodies of knowledge and applied the knowledge in local community and national development including neighboring countries emphasizing researches, applies and integrates local wisdom with technologies for strong, peaceful, and sustainable communities and society as a whole)
(๔) ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง (To promote, apply and develop higher technical and occupational knowledge)
(๕) ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีท่ีเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนา ศักยภาพในการผลิตและบริการชุมชน สังคม และประเทศ ตลอดจนการชนี้นำทางเลือกที่ดแก่ชุมชนและสังคม
"มาตรา ๗ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๖ ให้กําหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความใฝ่เรียนรู้ (To produce graduates who possess knowledge and technical ability as well as occupational skills and ability to think rationally having morality and ethics and learning desires)
(๒) จัดการศึกษาทางด้านวิชาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา (To provide occupational education both at the undergraduate and graduate levels)
(๓) สร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และนําความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา ท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาคใกล้เคียง โดยเน้นการวิจัย การประยุกต์และบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ากับเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง มีสันติสุขและยั่งยืน (To continuously build up and develop bodies of knowledge and applied the knowledge in local community and national development including neighboring countries emphasizing researches, applies and integrates local wisdom with technologies for strong, peaceful, and sustainable communities and society as a whole)
(๔) ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง (To promote, apply and develop higher technical and occupational knowledge)
(๕) ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีท่ีเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนา ศักยภาพในการผลิตและบริการชุมชน สังคม และประเทศ ตลอดจนการชนี้นำทางเลือกที่ดแก่ชุมชนและสังคม
(To provide technical and occupational services, transfer knowledge and technologies which are appropriate for the improvement of community potential in production and services, including giving assistance to the community and society in identifying better alternatives)
.
(๖) ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ(Conserve and support religious, arts, and cultural activities; promote and support sports and entertainment activities)
(๗) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา การวิจัย และการบริการกับสถาบัน และหน่วยงานอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (To promote and develop cooperative networks in the fields of education,research and services with other institutions and other organizations at national and international levels)
(๘) จัดการศึกษา โดยเน้นประชาชนในภูมิภาคที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและประเทศใกล้เคียง เป็นสําคัญ. (To provide education emphasizing for people in the vicinity of the university and neighboring countries)
(๑๐) จัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน (To build a participative, balanced,and sustainable resource and environment management in communities so that members can have more benefits without destroying a harmonious ecology).
กล่าวโดยย่อ ภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มีจุดเน้นที่ 10 เรื่อง คือ
1) การผลิตบัณฑิต (Production)ให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ
.
(๖) ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ(Conserve and support religious, arts, and cultural activities; promote and support sports and entertainment activities)
(๗) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา การวิจัย และการบริการกับสถาบัน และหน่วยงานอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (To promote and develop cooperative networks in the fields of education,research and services with other institutions and other organizations at national and international levels)
(๘) จัดการศึกษา โดยเน้นประชาชนในภูมิภาคที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและประเทศใกล้เคียง เป็นสําคัญ. (To provide education emphasizing for people in the vicinity of the university and neighboring countries)
(๙) ร่วมพัฒนาท้องถิ่น ดําเนินการจัดการศึกษาและฝึกอบรมที่ตอบสนองความต้องการ และเสริมสร้างองค์ความรู้ของชุมชนให้เข้มแข็ง เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน (To participate in community development and providing education and training that address local needs and build as well as strengthen community knowledge and uphold local wisdoms with an intention to build creative arts that foster sustainable development for the general public).
(๑๐) จัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน (To build a participative, balanced,and sustainable resource and environment management in communities so that members can have more benefits without destroying a harmonious ecology).
กล่าวโดยย่อ ภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มีจุดเน้นที่ 10 เรื่อง คือ
1) การผลิตบัณฑิต (Production)ให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ
2) การจัดการศึกษาทางด้านวิชาชีพ (Supporting productions by means of providing capable human resources aka manpower necessary for any field of production) ทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
3) สร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และนําความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา (Building Bodies of knowledge integral to sectors of economic activities)
4) ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง (Develop and apply advanced technical and occupational knowledge )
5)ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ (Providing technical and occupational services)
6) ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ (Promoting religious,arts,cultural,and entertainment activities )
7) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา การวิจัย และการบริการ (Networking and working the educational networks )
8) จัดการศึกษา โดยเน้นประชาชนในภูมิภาคที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและประเทศใกล้เคียง เป็นสําคัญ(Providing education for community and regional development)
9) ร่วมพัฒนาท้องถิ่น ดําเนินการจัดการศึกษาและฝึกอบรมที่ตอบสนองความต้องการ และเสริมสร้างองค์ความรู้ของชุมชนให้เข้มแข็ง (Taking part in local development and support the needs for community competitive advantage )
10) จัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน (Building better community participation in environmental conservation and sustainable development )
วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สโมสรไลออนส์สากลก้าวสู่ศตวรรษใหม่โดยเน้นหนักให้บริการสี่ด้านหลัก
We Serve
เรา Lions Clubs International ให้บริการมานานจนจะครบร้อยปีและก้าวขึ้น ศตวรรษใหม่แล้ว ในวาระสำคัญ Centennial นี้ เรามีจุดเน้นในการบริการอยูที่สี่ด้านดังต่อไปนี้
ด้านที่หนึ่ง
ด้านที่หนึ่ง
พิทักษ์สิ่งแวดล้อม Protecting our ENVIRONMENT
ด้านที่สอง
บรรเทาความหิวโหย Relieving the HUNGER
ด้านที่สาม
ให้การมองเห็นผ่านดวงตา Sharing the VISION
ด้านที่สี่
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน Engaging our YOUTH
ในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ สโมสรไลออนส์ชัยสุนทรกาฬสินธุ์ จะทำกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงวันไลออนส์สากลประจำปี 2559 โดยจะเน้นเรื่อง
"สายตา การมองเห็น "
โดยขอความร่วมมือจากสมาชิก และผู้มีจิตใจอันเป็นกุศลที่ท่านรู้จัก นับถือ ร่วมกันบริจาคช่วยผู้ป่วยโรคต้อกระจกตา ของ รพ.กาฬสินธุ์. ดวงตา คู่ละ. 2,000.- บาท ตาข้างเดียวดวงตาละ 1,000.- บาท การทำบุญบริจาคแก่ผู้มีสายตาที่มองไม่ค่อยเห็นเป็นกุศลอย่างยิ่ง
ขอขอบพระคุณมายังสมาชิกผู้ใจบุญทุกท่านดังรายนามต่อไปนี้
1. L อัญชลี. 10,000.
2. L คิม. 4,000.-
3. L จิราพร 4,000.-
4. L พัชมน. 2,000.-
5. L กอบกุลและ น้องลี่ 6,000.-
6. L วัชรี. 4,000.-
7.L. ทองเพ็ชร 2,000.-
8. L. ดร.ประสิทธิ์ 2,000.-
9. L กันยามาส 2,000
10. L เกตน์สิรี 2,000
11 L อรพิณ. 2,000
12 L นุกูล 2,000
13. L นิรันดร. 2,000
14....
ท่านผู้ใจบุญจะร่วมบริจาค ขอความกรุณาลงชื่อตามจิตศรัทธา บุญกุศลที่ทำครั้งนี้ ขอให้ทุกๆท่านมีสุขภาพแข็งแรง ร่ำรวย มีความสุขยิ่งๆตลอดไป
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
การจัดอันดับความเป็นเลิศในสายตามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
การเป็นมหาวิทยาลัยในชนบทที่มาจากการผนวกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยใหม่แห่งนี้จึงมีความเก่าแก่ไม่น้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัยราชภัฏอื่นๆ ซึ่งมีความเป็นมายาวนานไม่น้อยเลย!
มหาวิทยาลัยกาฬสินธ์ุวางตำแหน่งของตนเองแบบใดกันแน่?
การตอบคำถามข้อนี้คงเริ่มต้นจากการมองดูที่ตัวเอง
การตอบคำถามข้อนี้คงเริ่มต้นจากการมองดูที่ตัวเอง
ดูจุดแข็งของเรา จุดอ่อนของเรา
ดูโอกาสของเรา และดูภัยที่คุกคามเรา
ดูจากข้างนอกด้วย จากนั้นจึงโอปนยิโก ดูแล้วน้อมเข้ามาดูตัวเอง
ในส่วนการดูข้างนอกนั้น วันนี้ผมใคร่ขอชักชวนให้ท่านผู้อ่านดูที่การจัดอันดับความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นดูมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด (Harvard University) ว่าเมื่อหาวิทยาลัยแห่งนี้เขาเห็นผลการจัดอันดับแล้ว เขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองอย่างไร เขาโอปนยิโกแบบใด? ลองอ่านภาษาอังกฤษก่อนแล้วค่อยไปอ่านภาษาไทยครับ
University rankings
University rankings | |
---|---|
National | |
ARWU[105] | 1 |
Forbes[106] | 6 |
U.S. News & World Report[107] | 2 |
Washington Monthly[108] | 8 |
Global | |
ARWU[109] | 1 |
QS[110] | 2 |
Times[111] | 6 |
Many university rankings have highly ranked Harvard. In particular, it has consistently topped the Academic Ranking of World Universities (ARWU) since 2003, and THE World Reputation Rankings since 2011, when the first time such league tables were published.[112][113] When the QS and Times appeared in partnership as the THE-QS World University Rankings during 2004-2009, Harvard had also been regarded the first in every year.[114]The University's undergraduate program has been continuous among the top two in the U.S. News & World Report.[107] In 2014, Harvard topped the University Ranking by Academic Performance(URAP).[115] It was ranked 8th in the 2013-2014 PayScale College Salary Report[116] and 14th on the 2013 PayScale College Education Value Rankings.[117] From a poll done by The Princeton Review, Harvard is the second most commonly named "dream college", both for students and parents in 2013,[118] and was the first nominated by parents in 2009.[119] In 2011, the Mines ParisTech: Professional Ranking World Universities ranked Harvard 1st university in the world regarding some alumni holding CEO position in Fortune Global 500 companies.
ประการแรก เขาบอกว่าสถาบันจัดอันดับหลายแห่งยกให้เขาเป็นอันดับต้นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ARWU จัดให้ Harvard อยู่ที่อันดับหนึ่งมาตั้งแต่ปี2003
ประการที่สอง The World Reputation Rankings จัดให้ Harvard อยู่อันดับหนึ่งเรื่อยมา ตั้งแต่ปี 2011 อันเป็นปีแรกที่สถาบันนี้เริ่มต้นทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
ประการทีสาม The QS-World University Rankings (ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง QS กับ Times ในช่วงปี 2004-2009) สถาบันนี้ก็จัดให้ Harvard อยู่ในอันดับที่หนึ่งตั้งแต่ปีแรกและติดต่อกันมาทุกๆปี
ประการทีสี่ โปรแกรมปริญญาตรีและต่ำกว่าก็ได้รับตำแหน่งที่สองต่อเนื่องมาตลอดในการจัดอันดับของ The U.S.News & World Report
ประการที่ห้า ในปี 2014 Harvard เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในเชิงขีดความสามารถด้านวิชาการ (University Ranking by Academic Performance-URAP)
ประการที่หก Harvard อยู่ในอันดับที่แปดในเรื่อง ระดับเงินเดือนของพนักงานเจ้าหน้าที่ (College Sallary Report)ในปี 2013-2014 และอยู่อันดับที่ 14 ของ PayScale College Education Value Rankingsในปี 2014
ประการที่เจ็ด ผลการสำรวจในปี 2013 ของ The Princeton Review พบว่า Harvard เป็น Dream College ในอันดับที่สองของทั้งนักศึกษาและความนิยมของผู้ปกครอง
และเป็นอันดับหนึ่งในสายตาของผู้ปกครองในปี 2009
ประการสุดท้าย ในปี 2011 The Mines Paris Tech: Professional Raking World Universities จัดให้ Harvard เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่หนึ่งที่มีศิษย์เก่าดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัท ชั้นนำ 500 บริษัทจากการจัดอันดับของ Fortune Global 500.
จากแปดตัวชี้วัดนี้ ท่านจะเห็นได้ว่าเมื่อมหาวิทยาลัย Harvard เขาส่องกระจกแล้วเขามองเห็นภาพตัวเองมีจุดเด่นอย่างไรบ้าง แต่ละภาพมีลักษณะอย่างไร ตรงนี้มีความสำคัญ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผมขอชี้ให้ท่านสังเกตก็คือ สังคมโดยเฉพาะสื่อมวลชนและแวดวงวิชาการจำนวนมากขึ้นได้หันมาให้ความสนใจการบริหารการจัดการคุณภาพของมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น
และจากกระแสของสากลที่เป็นเช่นนี้ ผมก็มีความเชื่อว่ากระแสความสนใจคุณภาพมหาวิทยาลัยไทยก็จะเชี่ยวกรากยิ่งขึ้นเช่นกันครับ!!!
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยใดๆ จะมีการระบุไว้ในพระราชบัญญัติแห่งมหาวิทยาลัยนั้นๆครับ
ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ.2558 บัญญัติวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยไว้ 6 ประการดังนี้ ครับ
ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการที่ให้ความรู้และความชํานาญในการปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี (Providing education and promote research activities to build and develop knowledge and technology)
2)ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคม (Providing technical services to local community and society as a whole)
3) ให้โอกาสทางการศึกษา แก่ประชาชน (Providing the general public with educational opportunities)
4) ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา (Restoring and supporting religions, arts, cultures and sports)
5) สนับสนุนกิจกรรมของรัฐและท้องถิ่น และ (Promoting state activities and local government operations)
6) มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Taking active part in community development and environmental conservation)
ท่านที่สนใจรายละเอียดของพระราชบัญญัติโปรดติดตามลิงค์ต่อไปนี้ครับ
อำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย
อำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยนั้นมีมากถึง 19 ข้อครับ
เท่าที่ผมทำการศึกษากฏหมายดูพบว่า มาตรา ๑๙ ของพระราชบัญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า
"สภามหาวิทยาลัยมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย
อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
เท่าที่ผมทำการศึกษากฏหมายดูพบว่า มาตรา ๑๙ ของพระราชบัญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า
"สภามหาวิทยาลัยมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย
อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) วางนโยบายและแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
(๒) ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ มหาวิทยาลัย และอาจมอบหมายให้ส่วนราชการใดในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ สําหรับส่วนราชการนั้นได้
ฯลฯ
(๑๘) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยตามที่อธิการบดีเสนอ และอาจ มอบหมายให้อธิการบดีปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยได้
(๒) ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ มหาวิทยาลัย และอาจมอบหมายให้ส่วนราชการใดในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ สําหรับส่วนราชการนั้นได้
ฯลฯ
(๑๘) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยตามที่อธิการบดีเสนอ และอาจ มอบหมายให้อธิการบดีปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยได้
(๑๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ "
จากอำนาจหน้าที่ทั้ง 19 ข้อนี้ กล่าวได้ว่าสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ (Authority or duty and responsibility ) ควบคุมดูแล (control and supervise) กิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย ซึ่งผมขอจำแนกอำนาจหน้าที่ตามหลักการบริหารแบบง่ายๆตามตัวอักษรย่อ PA-POSDCORB ดังต่อไปนี้นะครับท่าน
1) อำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนา (policy formulation and development planning) อำนาจหน้าที่ข้อนี้เป็นเรื่อง Policy and development planning เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย (ตามมาตรา 6)
2) การออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ (directing)ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น รวมทั้งอาจมอบอำนาจให้ส่วนราชการใดเป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศนั้นก็ได้ อำนาจหน้าที่ข้อนี้เป็นการขับเคลื่อนนโยบายคือหาทางให้การปฏิบัติตามนโยบายเป็นไปได้อย่างราบรื่นนั่นเอง (Policy Implementation)
3) การจัดองค์กร (organization)ของมหาวิทยาลัย กล่าวคือจะจัดองค์กรใหม่อย่างไรหรือไม่ หรือที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเหมาะสมแก่ภารกิจแล้ว
4) การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตร (curriculum design and approval taking into consideration standards set up by the Council for Higher Education-directing) ในทางวิชาการเราพบว่าคณะต่างๆของแต่ละมหาวิทยาลัยมีสาขาวิชาหลายสาขา แต่ละสาขาต่างก็มีหลักสูตร และแต่ละหลักสูตรมีเนื้อหา สาระอย่างไร มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมการเมืองในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร สิ่งเหล่านี้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
5) พิจารณาอนุมัติการรับหน่วยงานการศึกษาอื่นเข้ามารวมกับมหาวิทยาลัยของตน (Power to approve the merging of other institutions with Kalasin University-coordinating and directing)
6) การอนุมัติการทำวิจัยหรือร่วมปฏิบัติการทางวิชาการใดๆกับมหาวิทยาลัยอื่น รวมทั้งการยกเลิกการร่วมปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย (Approval of coordinated projects with other institutions-coordinating and directing)
7) อนุมัติปริญญาระดับต่างๆ(Approval of various categories of diploma and certificates-directing)
8)พิจารณาดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งและพิจารณาถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์พิเศษ (Staffing)
9) แต่งตั้งและถอดถอนรองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ(Staffing)
10) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการคณบดีผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนราชการ(Staffing)
11) การกำกับมาตรฐานการศึกษาและประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย (Controlling of educational standard and quality assurance - controlling and reporting)
12) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยและอธิการบดี (Follow up and evaluate University and Rector performance-controlling and reporting)
13) การออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารการคลัง การจัดหารายได้และ (Issuing of financial, administrative rules and regulations, the obtaining of income and amenities from University property-budgeting)
14) การออกข้อบังคับและระเบียบเพื่อระดมทุนและทรัพยากร (Issuing of standards and regulations concerning fund raising and resources utilization including the setting up and the management of such funds for the development of community education-directing)
15) การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณจากรายได้ของมหาวิทยาลัย (Approval of expenditures from the university incomes in the annual budget).
16) พิจารณาดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยตามกฎหมาย
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษามอบหมาย (Take actions on personnel administration of the school staffers according to the authorities that the council for higher education assigns to the University council-staffing)
17) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็น ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหน่ึงอย่างใดอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย (Appointments of a committee,sub-committee or a person to carry out a study and propose viewpoints on a particular issue or a sign such the body with a task pertaining to the council to complete in the name of the board -directing)
18) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยตามที่อธิการบดีเสนอ และอาจมอบหมายให้อธิการบดีปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยได้ (To review and give recommendations on university activities proposed by the Rector and delegate authority to the Rector to carry out a particular activity under the duty and responsibility of the council -directing)
19) หน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ "
(Other duties related to university affairs which do not belong to a certain body-miscellaneous).
จากอำนาจหน้าที่ทั้ง 19 ข้อนี้ กล่าวได้ว่าสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ (Authority or duty and responsibility ) ควบคุมดูแล (control and supervise) กิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย ซึ่งผมขอจำแนกอำนาจหน้าที่ตามหลักการบริหารแบบง่ายๆตามตัวอักษรย่อ PA-POSDCORB ดังต่อไปนี้นะครับท่าน
1) อำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนา (policy formulation and development planning) อำนาจหน้าที่ข้อนี้เป็นเรื่อง Policy and development planning เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย (ตามมาตรา 6)
2) การออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ (directing)ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น รวมทั้งอาจมอบอำนาจให้ส่วนราชการใดเป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศนั้นก็ได้ อำนาจหน้าที่ข้อนี้เป็นการขับเคลื่อนนโยบายคือหาทางให้การปฏิบัติตามนโยบายเป็นไปได้อย่างราบรื่นนั่นเอง (Policy Implementation)
3) การจัดองค์กร (organization)ของมหาวิทยาลัย กล่าวคือจะจัดองค์กรใหม่อย่างไรหรือไม่ หรือที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเหมาะสมแก่ภารกิจแล้ว
4) การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตร (curriculum design and approval taking into consideration standards set up by the Council for Higher Education-directing) ในทางวิชาการเราพบว่าคณะต่างๆของแต่ละมหาวิทยาลัยมีสาขาวิชาหลายสาขา แต่ละสาขาต่างก็มีหลักสูตร และแต่ละหลักสูตรมีเนื้อหา สาระอย่างไร มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมการเมืองในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร สิ่งเหล่านี้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
5) พิจารณาอนุมัติการรับหน่วยงานการศึกษาอื่นเข้ามารวมกับมหาวิทยาลัยของตน (Power to approve the merging of other institutions with Kalasin University-coordinating and directing)
6) การอนุมัติการทำวิจัยหรือร่วมปฏิบัติการทางวิชาการใดๆกับมหาวิทยาลัยอื่น รวมทั้งการยกเลิกการร่วมปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย (Approval of coordinated projects with other institutions-coordinating and directing)
7) อนุมัติปริญญาระดับต่างๆ(Approval of various categories of diploma and certificates-directing)
8)พิจารณาดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งและพิจารณาถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์พิเศษ (Staffing)
9) แต่งตั้งและถอดถอนรองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ(Staffing)
10) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการคณบดีผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนราชการ(Staffing)
11) การกำกับมาตรฐานการศึกษาและประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย (Controlling of educational standard and quality assurance - controlling and reporting)
12) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยและอธิการบดี (Follow up and evaluate University and Rector performance-controlling and reporting)
13) การออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารการคลัง การจัดหารายได้และ (Issuing of financial, administrative rules and regulations, the obtaining of income and amenities from University property-budgeting)
14) การออกข้อบังคับและระเบียบเพื่อระดมทุนและทรัพยากร (Issuing of standards and regulations concerning fund raising and resources utilization including the setting up and the management of such funds for the development of community education-directing)
15) การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณจากรายได้ของมหาวิทยาลัย (Approval of expenditures from the university incomes in the annual budget).
16) พิจารณาดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยตามกฎหมาย
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษามอบหมาย (Take actions on personnel administration of the school staffers according to the authorities that the council for higher education assigns to the University council-staffing)
17) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็น ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหน่ึงอย่างใดอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย (Appointments of a committee,sub-committee or a person to carry out a study and propose viewpoints on a particular issue or a sign such the body with a task pertaining to the council to complete in the name of the board -directing)
18) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยตามที่อธิการบดีเสนอ และอาจมอบหมายให้อธิการบดีปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยได้ (To review and give recommendations on university activities proposed by the Rector and delegate authority to the Rector to carry out a particular activity under the duty and responsibility of the council -directing)
19) หน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ "
(Other duties related to university affairs which do not belong to a certain body-miscellaneous).
จากการจัดกลุ่มอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยฯตามหลักการบริหารแบบกว้างๆเช่นนี้
ก็จะทำให้เรามองเห็นว่าสภามีหน้าที่บริหารด้านใดบ้าง
ส่วนการใช้เทคนิคการบริหารให้มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยก็เป็นเรื่องที่ผู้บริหารจะต้องดำเนินการตามหลักการบริหารและเทคนิครวมทั้งเครื่องมือการบริหาร(tools)สมัยใหม่ต่อไปครับ
วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
5 สิ่งที่เป็นเครื่องกางกั้นสติปัญญา (นิวรณ์ 5)
นิวรณ์ 5 คือ สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สติปัญญาอย่างมีคุณภาพ เป็นสิ่งที่กางกั้นความสำเร็จ มี 5 อย่าง คือ
1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม หมกมุ่นในกาม เราไม่ต้องอธิบายก็ได้ว่ามันกีดขวางการใช้ความสามารถและสติปัญญาได้อย่างไร
2.พยาบาท ความผูกใจเจ็บอาฆาตพยาบาทส่งผลให้การใช้สติปัญญาน้อมไปในทางตรงกันข้ามกับความเจริญงอกงาม เป็นการใช้วิชาความสามารถในทางเสื่อมเสีย หรือทำลายล้างมากกว่าในทางสร้างสรรค์
3.ถีนะมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความเซื่องซึม ขาดความกระปรี้กระเป่า ขาดความกระตือรือร้น
4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ เป็นเครื่องปิดกั้นมิให้เข้าถึงความดี ปิดกั้นทิให้เข้าถึงสติปัญญา ไม่สามารถพุ่งตรงไปที่เป้าหมาย
5.วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย ทำให้ขาดศรัทธา ไม่มีการตัดสินใจ ไม่สามารถลงมือทำ ไม่มีการ take action ไม่ทำงานเชิงรุก ไม่ proactive ในกิจการงานที่รับผิดชอบ
Mangala, A Discourse on Blessings :Chanting is a way of Meditation Practice
Our morning meditation began with chanting the Mangala Sutta. It is one of the techniques to gain a state of mindfulness.The principle consists of 38 necessary habits to learn and apply in daily life to receive blessings in our business and family endeavour. Phra Arjan Sawang Kalayano from Sisaket Province, who is the project leader, smartly led the chanting.
The following website gives you the Mangala Sutta.
http://www.arrowriver.ca/dhamma/bless.html
After the chanting, we proceeded to a walking meditation on the route in front of the Centre as far the same distance as we took yesterday. But, in this morning, pieces of stone on the road are sharper than yesterday because of last night rain.
The monk spoke less as usual. Because he, most of the times, emphasised the action. He told us to begin the practice called " Jong krom" or walking meditation and led us to walk slowly on our routine path which is about a kilometre and back to the centre. Finally, he told us to stop and stand still for a while. Standing in front of the Centre building this morning
I was more relaxed and more peaceful than how I felt in yesterday practice. I felt the time today moved faster than yesterday.
While we were practising our walking meditation, I heard noise from the bird that has come to follow us every morning since our first jong krom lesson, praised us in his language.The flying animal said, "Patibat Dee Laew, Patibat Dee Laew...!!!"
At the end of the session, Phra Arjan told us the right action of making a better gesture of a "wai" (ไหว้) to give thanks to the fundamental principle of the meditation before ending the morning practice. "Raise both index fingers to touch your forehead right between your eyebrows and the gesture will be a right one".
This morning we practised how to behave yourself, how to cultivate good actions - the mindful actions.
In short,we have practised many aspects of Mangala sutta.
วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
รู้เวทนาในเวทนา
เช้านี้เราสวดมนต์ทำวัดเช้า โดยเมื่อจบบทสรรเสริญพระรัตนตรัยแล้ว เราตรงเข้าสู่บทอานาปานสติ คือการพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิตและเห็นธรรมในธรรม
ในส่วนเรื่อง เห็นเวทนาในเวทนา มีความหมายอย่างไรนั้น คำสาธยายต่อไปนี้อาจช่วยทำให้ท่านมองเห็นเวทนาในเวทนา คือมีความเข้าใจว่าเวทนาเป็นอย่างไร และเมื่อลงมือปฏิบัติอานาปานสติก็จะได้รับประสบการณ์ในส่วนเวทนาครับ
ข้อความเป็นอย่างนี้ครับ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา
เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่"
จะเห็นได้ว่าปิติ สุข เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ เรียกชื่อรวมๆกันว่าเวทนา เช่นสุขเวทนา ทุกขเวทนา นั่นเอง
สำหรับท่านที่ประสงค์รายละเอียดของอานาปานสติฉบับยาวอย่างเต็มๆ เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ในลิงค์ต่อไปนี้ครับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
นอกจากนี้ยังหาอ่านตัวบทและคำแปลของอานาปานสติสูตรได้จากหนังสือเล่มนี้ครับ
หนังสือเล่มนี้มูลนิธิปัญญาประทึป
พิมพ์แจกเป็นธรรมทานครับ
www.panyaprateep.com,
www.thawsischool.com
วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
Maditation class from a forest monk
Sunday of May 15, 2016
After the morning prayer on the agenda at 05.00 hours, we listened to a short exciting and useful talk by the project leader on his tudong experiences. We then had a sitting meditation practice and later on took a mindful morning walk for a kilometre towards the canal in front of the centre and back. While we were making our mindful walking the monk told us how to behave ourselves - how to manage our physical positions and our minds and breaths, here and there once in a while. He spoke less but chose to emphasise critical procedures. When he came near me, he showed us how to manage our hands. He told us to take it easy by just hanging our hands down beside our body relaxingly. "Do not hold them up like that will make you feel stressed," he said."Then bring one hand to put above the other in front of your stomach". He showed us how to do it. When he placed one hand on the other, he said, "ngab (แงบ) like this". It was an impressive expression. When I followed his explanation, I was surprised to find out I was more comfortable!
I think we should do each prayer separately so that we can understand the concept and the details of practices more quickly, especially for senior followers.
The links below show you more details of The Noble Paths and the process of Anapanasati.
วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์หมายถึงทำอะไร?
ในหน้า 12 ของหนังสือเล่มนี้ เป็นบทสวดมนต์แปล หัวข้อ สังเวคปริกิตตนปาฐะ ซึ่งเป็นหัวข้อลำดับที่ 5 ของบทสวดการทำวัตรเช้า ความเริ่มต้น ว่า พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ ท่านเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง และพระธรรมที่ทรงแสดง
* เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
* เป็นเครื่องสงบกิเลส
* เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
* เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม
โดยระบุว่า นี่เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ...
ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า...เมื่อพวกเราได้ฟังที่พระองค์ทรงประกาศแล้วจึงได้รู้อย่างนี้ว่า
* แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
* แม้ความตายก็เป็นทุกข์
* แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์
* ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
* ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
* มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์...
จากนั้น บทสวดมนต์กล่าวถึง ขันธ์ห้า อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยกล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งห้าขันธ์นี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น (อุปาทาน)
นอกจากนี้ ยังกล่าวอีกด้วยว่า ขันธ์ทั้งห้านี้ไม่เที่ยง คือเป็นอนิจจัง และไม่ใช่ตัวตน (อะนัตตา)
สุดท้ายบอกอีกว่า
...พวกเราทั้งหลายป็นผู้ถูกครอบงำแล้วด้วยความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
พวกเราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว!
เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว!!!
ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้?
ท่านผู้อ่านครับ สงสัยหรือไม่ครับว่าการทำที่สุดแห่งกองทุกข์นี้ท่านเข้าใจว่าหมายถึงอะไร?
วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
ประกาศ กกต.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ
ภายหลังการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 นาย ธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต. แถลงเวลา16.20 น. ว่า กกต.มีมติ ให้ออก ประกาศ กกต. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติฯ
โดยมีข้อกำหนดสิ่งที่ประชาชนทำได้ 6 ข้อ
และทำไม่ได้ 8 ข้อ
สิ่งที่ประชาชนทำได้ มีดังนี้
1.ศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างครบถ้วนจากเว็ปไซต์หรือสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นของตน
2.แสดงความคิดเห็นโดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
3..แสดงความคิดเห็นโดยใช้ข้อมูลที่มีความชัดเจนไม่กำกวมอันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
4.การนำเสนอหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการเพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็นให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงบุคคลนั้น ควรตรวจสอบความถูกต้องและแสดงที่มาของงานวิจัยนั้นด้วย
5.การสัมภาษณ์่ผ่านสื่อเพื่อแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งของตน
6.การนำเข้าข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นพร้อมแสดงเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งของตนในเว็ปไซต์และสื่ออิเลกทรอนิกส์หรือการส่งต่อข้อมูลดังกล่าวโดยไม่มีการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ส่วนที่ทำไม่ได้ 8 ข้อ ประกอบด้วย
ท่านที่ประสงค์รายละเอียดในเว็ปไซต์ กกต. โปรดติดตามลิงค์ด้านล่างครับ
วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559
สร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ก็ต้องสู้อย่างมีหลัก
การสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันต้องสู้อย่างมีหลักการ โดยต้องดำเนินกลยุทธ์ 12 ด้าน
12 pillars of competitiveness:
1.Institutions (สถาบัน)
2.Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน)
3.Macroeconomic environment (บรรยากาศของเศรษฐกิจมหภาค)
4.Health and primary education (การสาธารณสุขและการศึกษาระดับพื้นฐาน)
5.Higher education and training (การอุดมศึกษาและการฝึกอบรม)
6.Goods market efficiency (สร้างประสิทธิภาพด้านการตลาดสินค้า)
7.Labor market efficiency (ประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน)
8.Financial market development (พัฒนาตลาดเงิน)
9.Technological readiness (ความพร้อมด้านเทคโนโลยี)
10.Market size (การพัฒนาขนาดของตลาด)
11.Business sophistication (การสร้างความงดงามของธุรกิจ)
12.Innovation (การสร้างนวัตกรรมใหม่)
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
รัฐธรรมนูญทีปรากฏกับการปรากฏของรัฐธรรมนูญ
ซัดต่อท่ออำนาจ
ปชป.บี้ข้อเสนอ ครม.
เปลี่ยนหลักการรัฐธรรมนูญ
"มีชัย"ยักท่า บอกมึน ไม่เข้าใจ
แปลไม่ออกข้อเสนอบังคับใช้ รธน. สองช่วง
สารภาพคิดไม่ออก เขียนรัฐธรรมนูญสนองบัญชา "นายกตู่" ขอจับเข่าเคลียร์ "วิษณุ"ถอดระหัสแปลความหมาย ต้องการรูปแบบไหน มือกฏหมายรัฐบาลปัดใบสั่งครม. ไม่ทำตามก็ได้ อ้างไม่ไว้ใจเหตุการณ์ ไม่ใช่นักการเมือง
"สุวพันธ์" ปัด คสช.ยื้อสงวนอำนาจไว้
"บิ๊กตู่" ตอกย้ำไม่ต้องการอยู่ต่อ ขำตลกดีถูกฟ้องข้อหายึดอำนาจ
"นิพิฏฐ์" ชัด เรื่องใหญ่มากเปลี่ยนหลักการรัฐธรรมนูญ ต้องยกร่างใหม่ เปิดถ้วยแทงฟันธง ต่อท่ออำนาจยาว
พท.อัด ปชต.ครึ่งใบ ลากประเทศถึงทางตัน
"ปึ้ง" ฉะ ต่างประเทศมองทะลุเกมสืบทอดอำนาจ
"เหวง" เฉ่ง คสช.จ้องขึงยาว 20 ปี
"สมพงษ์" เย้ย ดันรัฐบาลแห่งชาติยังดูเนียนกว่า "ปื๊ดเรือแป๊ะ" ขอเมตตาให้ ปธ. กรธ.โยนแปดทางเลือก ฉบับ "มีชัย-บวรศักดิ์-ลูกผสม" ปี 40 และ 50
น่าปลื้มใจที่ แม้จะกระแนะกระแหน่ แต่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐวันนี้ นอกจากโพสต์คำโปรยเชิงปฏิเสธถี่ยิบแล้ว ยังสละหน้าแปดครึ่งหน้าและหน้าเก้าอีกเต็มหน้า
แถมด้วยร่ายยาวคำพูดท่านนายกรัฐมนตรีละเอียดยิบตบท้ายข่าวใหญ่ไว้ดังนี้ครับ
"วอนเริ่มนับหนึ่งหนุดทะเลาะ
ต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอกชน ราชการ นักการเมือง เอาประเทศชาติให้ได้ก่อนได้ไหม ขณะนี้อยู่ในระหว่างร่างกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป
ทุกคนไอ้นี่ก็ไม่เอาไอ้นั่นก็ไม่เอา แต่ปฏิรูปจะเอาห้ามทำนี่ทำโน่น อยากร่ำอยากรวย อยากสบายแต่ไม่ฟังกฏหมายเลย จะไปได้ยังไง ไม่เข้าใจ ช่วยกันหน่อยความขัดแย้งเรื่องกฏหมายทำยังไงจะน้อยที่สุด ไม่ใช่จะพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นไปไม่ได้ เรื่องอะไรที่ทะเลาะเบาะแว้งหยุดไว้ก่อนได้หรือไม่ถ้าปฏิรูปไม่ได้ ประชามติไปไม่ได้ เลือกตั้งไปไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร ใครจะต้องรับผิดชอบ"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)