วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเมืองภาคปฏิบัติใน USA ตอนที่ 2

เพื่อนใน Facbook แชร์มาอีกแล้วครับ !

คราวนี้เป็นเรื่องที่นักเขียนเขาวิเคราะห์ความผิดพลาดของ Hillary Clinton ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค Democratic Party 
คุณ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ 


บอกว่า ที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ออกมาเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากความผิดพลาด 8 ประการ ดังต่อไปนี้

1. กลุ่มคนในเขตเมืองใหญ่ขาดปฏิสัมพันธ์และความเข้าใจชีวิตของคนในชนบทอย่างสิ้นเชิง (Lack of Rural Urban Relation)

2. ผู้สนับสนุนนายทรัมป์เป็นเสียงเงียบที่ไม่อยากเผยตัว ไม่มีใครกล้ายอมรับและบอกผลกับโพลต่างๆ เพราะกลัวถูกมองว่าประหลาด (Silent Public Opinion)

3. สื่อออนไลน์ทำให้ผู้คนทั่วไปอยู่ในกะลา ได้รับข้อมูลจากฝ่ายที่ตนสนับสนุนอยู่แล้ว (The Real Impact Of Social Media)

4. “ความยโสโอหัง” ของฝ่ายอำนาจเก่าโดนลงโทษ (Political Punishment on The Arrogant  )

5. ตัวเลือกที่ผิดตั้งแต่ต้น (Misplaced Candidacy)

6. ไม่มีความเอาใจใส่ฐานเสียงเดิม (Neglected Supporters)

7. มีคนที่รู้สึกว่าสิทธิและความคิดเห็นของตนถูกละเลยมากพอ (Dismayed Voters)

8. กลุ่มผู้หญิง แอฟริกันอเมริกัน และชาวอเมริกาใต้ ไม่ออกมาใช้เสียงมากพอเพื่อสนับสนุนนางฮิลลารี (The Effects of Political Aparthy)

จาก 8 ข้อผิดพลาดของฝ่าย Democrats นี้ เราพบว่าสภาพทางสังคมของชาวอเมริกันนั้นก็มีความคล้ายคลึงกับสภาพสังคมไทย เพราะประการแรกความแตกต่างระหว่างชนบทกับเมืองใหญ่ยังมีอยู่ไม่น้อย ลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งผลต่อการเมืองและการเลือกตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประการที่ 2 น่าประหลาดใจมากที่ลักษณะการปิดบังซ่อนความคิดความรู้สึกทางการเมืองของประชาชนยังปรากฏอยู่ในสหรัฐอเมริกา สภาพเช่นนี้แม้มิใช่เกิดขึ้นเพราะความหวาดกลัวภัยคุกคามเหมือนที่เกิดขึ้นในบางประเทศ แต่ในความจริงชาวอเมริกันก็มีความรู้สึกเช่นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก จนถึงกับส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งได้ไม่มากก็น้อย ดังที่เห็นกันอยู่ใช่ไหมครับ?

ประการที่ 3 สาเหตุข้อนี้มีความเป็นไปได้ไม่น้อยเช่นกัน การสนทนาเฉพาะในกลุ่มตนเองผ่านแอ๊ปไลน์อาจจะเป็นการปิดกั้นความคิดจากกลุ่มบุคคลภายนอก ซึ่งกลุ่มไลน์นี้แตกต่างจากสื่อ Facebook และสื่อกระแสหลักอื่นๆที่อย่างหลังนี้เปิดส่งและรับข่าวสารในวงกว้างกว่าอย่างแรก

ประการที่ 4  เรื่องความยะโสโอหังของกลุ่มอำนาจเก่าที่ถูกลงโทษนี้ ผมมีความเห็นว่าการที่กลุ่มอำนาจเก่าจำนวนมากผ่านชีวิตการเป็นครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาด้วยกันอาจจะเป็นไปได้ว่าสิ่งนี้ทำให้พวกเขารู้สึกหยิ่งทรนงว่าพวกตนมีการศึกษาสูง มีความรู้มากกว่าคนอื่นๆ ซึ่งลักษณะนี้แตกต่างจากคนในภาคธุรกิจที่เขามักจะจดจำได้ว่าตนนั้นไต่เต้ามาด้วยการลงมือทำธุรกิจ สร้างเนื้อสร้างตัวมาด้วยลำแข้ง หนักเอาเบาสู้ ผ่านอุปสรรคล้มลุกคลุกคลานมามากต่อมาก จึงต้องจดจำว่าการปรับตัว การพึ่งตนเองนั้น มีความสำคัญยิ่ง คนเหล่านี้จึงมักไม่นิยมการยกตนข่มท่าน หรือเมื่อหากมีความจำเป็นจะต้องข่มใคร ก็จะกระทำต่อเมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนเองจริงๆเท่านั้น เช่น อาจจะบอกออกไปตรงๆเลยว่า "ถ้าฉันได้อำนาจ แกติดคุกแน่" เช่นนี้เป็นต้น

ประการที่ 5 ความผิดพลาดข้อนี้ตรงไปตรงมาไม่มีอะไรมากครับ!
ประการที่ 6 สื่อมวลชนได้เปิดเผยให้เห็นแล้วว่าผู้เลือกตั้งที่ลำบากยากจนในเขตฐานเสียงเดิมของ มิสซิส คลินตัน กล่าวว่า "Trump ลูกเดียวครับ" เมื่อถูกถามว่าจะเลือกใคร !!!

ประการที่ 7 ความผิดพลาดข้อนี้คือความผิดพลาดในการบริหารเป็นเวลาสองเทอมติดต่อกันของพรรค Democratic Party ผลพวงของมันมาออกฤทธิ์มากเอาตอนปลายสมัยซึ่งประชาชนต้องเลือกระหว่างของเก่ากับการลองของใหม่!

ประการสุดท้าย ความผิดพลาดข้อนี้ฝ่ายคลินตันได้มีการพยายามแก้ไขอยู่บ้างในตอนท้าย แต่ก็แก้ไม่ตก จะเห็นได้จากมีผลโพลล์ในช่วงสุดท้ายใกล้วันลงคะแนนออกมาว่า Donald Trump มีเสียงนำ Hillary Clinton แล้วนะ การทำเช่นนี้ อาจเป็นการกระตุ้นพวกเสียงเงียบว่าถ้าไม่เลือกเราเขามาแน่ แต่เรื่องอย่างนี้จะมาแก้ไขภายในวันสองวันได้อย่างไรครับ

กล่าวโดยย่อ ผมจำเป็นต้องยกสองมือขึ้นกุมขมับกล่าวกับตัวเองว่า

"การเมืองภาคปฏิบัติในสหรัฐอเมริกานี่ มันเข้าใจยากกว่าทฤษฎีจริงๆ !!!"

ดังเรื่องราวของเจ้าคุณท่านหนึ่งในลิงค์ต่อไปนี้
ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ครับ



วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเมืองภาคปฏิบัติใน USA

การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์  ผลประโยชน์อย่างแรกคือ การได้มาซึ่งอำนาจ หรือการแสวงหาอำนาจการมีอำนาจ ดังนั้น ท่านจึงกล่าวอีกด้วยเหมือนกันว่า การเมืองเป็นเรื่องของการแสวงหา การได้มา และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจ

ภาคปฏิบัติของ การแสวงหา การได้มา และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจ นั้น วันนี้เราได้เห็นประจักษ์แล้วจากการเมืองเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่  8 พฤศจิกายน 2559 ที่เผยแพร่ผ่านสื่อ และสื่อทางสังคมที่แพร่สะพัดกระจัดกระจายอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ทะลุทะลวงมิติด้านกาละ เทศะ ตามอิทธิพลของโลกาภิวัตน์

การแสวงหาอำนาจในช่วงเวลาการหาเสียงเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจในประเทศนี้ นั้น คู่แข่งที่เข้าชิงตำแหน่งต่างฝ่ายต่างก็ทุ่มเทกำลังงัดอาวุธทุกชนิดสาดเข้าใส่กันอย่างไม่ยั้งฝีมือ



ที่เห็นชัดเจนประการแรกคือการเปิดเผยความชั่วร้ายของฝ่ายตรงกันข้ามอย่างถึงพริกถึงขิง จนถึงขนาดที่สื่อมวลชนต่างก็สรุปลงความเห็นว่าการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เป็นการกระทำที่โหดร้ายที่สุด ผู้คนถึงกับลงความเห็นว่าการรณรงค์หาเสียงครั้งนี้เป็นการต่อกรระหว่างโรคมะเร็งร้ายกับปีศาจ คือเป็นการต่อสู้กันของคู่แห่งความชั่วร้าย!!!
มันมิใช่แบบนั้นเพียงอย่างเดียวครับ!!!

เราเห็นTrump กล่าวกับ Hilray Clinton อย่างไม่นั่งปากเช่นกล่าวว่าเธอเป็นแม่มด เป็นปีศาจ มึงเถอะถ้าฉันได้ตำแหน่งละก็แกติดคุกแน่!!!
แต่ครั้นเวลาชนะแล้ว กลับตาลปัดเป็นปากหวานกล่าวยกย่องชมเชยคลินคั้นเอาดื้อๆแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
เอากับเขาสิ!!!-
ท่านลองฟังสิครับ

ขึ้นต้นก็หวานเจื้อยเลยครับ!!!

I've just received a call from Secretary Clinton. She congratulated us. It's about us. On our victory, and I congratulated her and her family on a very, very hard-fought campaign.
I mean, she fought very hard. Hillary has worked very long and very hard over a long period of time, and we owe her a major debt of gratitude for her service to our country.
I mean that very sincerely.
ฟังพูดเข้าสิ !!!
ก็พอเห็นอยู่ใช่ไหมครับท่าน!!!

ผมขอน้อมคารวะฝากเรื่องนี้ไว้กับทุกท่านที่ติดตามอ่านเรื่องนี้ ได้ช่วยคิดต่อก็แล้วกันนะครับว่า
การเมืองบ้านเราดุเดือดใกล้เคียงกันกับการเมืองเขาหรือไม่ครับ?