วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อตัมมยตา มีได้ในทุกสาขาอาชีพ

การมองเห็นธรรมในธรรมนั้น ท่านพุทธทาสให้หลักปฏบัติเอาไว้
เรียกว่า หลักปฏิบัติธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน เริ่มต้นด้วย

หนึ่ง อนิจจานุปัสสี แปลว่า พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง คือมีปกติตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่ หายใจเข้า หายใจออก กล่าวอย่างง่ายก็คือ ความไม่เที่ยงเป็นจุดตั้งต้น เห็นความไม่เที่ยง มันเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การที่ต้องผูกพันอยู่กับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ มันก็เป็นทุกข์  เป็นลักษณะที่สองต่อไป คือ


สอง ความทุกข์ ทุกขตา

ทั้งความทุกข์และความไม่เที่ยงนี้ไม่มีอะไรที่จะต้านทานได้ นี้คือ ความเป็นอนัตตา เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

สาม อนัตตา

และเมื่อเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้วก็ย่อมจะเห็นธัมมัฏฐิตตตา

สี่ ธัมมัฏฐิตตตา คือความตั้งอยู่ตามธรรมชาติธรรมดา ความตั้งอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ เห็นความที่เป็นไปตามกฏธรรมดา

จากนั้นก็เห็นลงลึกลงไปอีกว่า โอ้...มันมีกฏบังคับอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ธัมมนิยามตา โดยกฏบังคับของธัมมนิยาม ความเป็นกฏธรรมชาติที่มันเป็นอย่างนั้น เห็นชัดอย่างนี้ เรียกว่า ธัมมนิยามตา

ห้า ธัมมนิยามตา ดูๆไปก็ยิ่งเห็นว่ามันมีกฏบังคับอยู่ โอ...มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ คือ มีเหตุให้เกิดผล แล้วผลกลายเป็นเหตุให้เกิดผล ผลกลายเป็นเหตุแล้วก็ให้เกิดผล ผลกลายเป็นเหตุแล้วก็ให้เกิดผล ไม่มีที่สิ้นสุด เหลือจะกำหนดนับ นี้เรียกว่าอิทัปปัจจยตา ความที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย


หก อิทัปปัจจยตา ความที่ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ นี่คือเห็นอิทัปปัจจจยตา

แล้วจากอิทัปปัจจยตานี้ ดูต่อไปก็จะเห็นว่าโอ้ว่างจากอัตตา ว่างจากความหมายแห่งตัวตน ไม่มีส่วนใดที่ควรจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตน นี้เรียกว่าเห็นสุญญตา

เจ็ด เห็นสุญญตา เมื่อเห็นสุญญตาไปถึงที่สุดก็เห็นตถาตา


แปด เห็นตถาตา ว่าโอ้ เป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง เห็นตถาตาถึงที่สุดแล้ว โอ้...ก็รู้สึกว่าอาศัยมันไม่ได้อีกแล้ว จะผูกพันกับมันไม่ได้อีกต่อไปแล้ว จะยึดมั่นถือมั่นต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เลิกกันที พอกันที นี้ก็เรียกว่า อตัมมยตา


เก้า อตัมมยตา แปลว่าพอกันที ในการที่จะูกพัน ยึดมั่น อาศัยปรุงแต่งกันอย่างที่แล้วมานี้ พอกันที พอกันที(กูไม่เอากับมึงอีกต่อไปแล้ว


(First and foremost is that all things have "impermanence" as the establishing point of their existences.We can see that all things and phenomena keep changing all the time.The second is that suffering is bound to arise because of the adherence to things which keep changing.Nothing can withstand the forever changing nature of all things and phenomena as well as the suffering resulted from it.Amidst the impermanent character of all things and events, we can see and realize their state of not being or having a self (or anatta).We can well discern the impermanence and suffering of life and the having no-self characteristic of all real things which keep changing according to factors. Because we have to live and put up with "aniccam", so we suffer.There is nothing, not self, to stop impermanence and suffering.Hence, we see the way things are: impermanent, source of suffering and not possessing a "self").


ทั้งหมดนี้ท่านพุทธทาส เรียกขานขนานนาม ว่า "แม่แก้วตา - แม่ 9 ตา"

ส่วนวิธีปฏิบัติเพื่อให้พอกันทีได้นั้น จะทำอย่างไรกันก็ลองติดตามฟังท่านพุทธทาสเทศน์ดูนะครับ
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น